การเรียนภาษาที่สามช่วยพัฒนาทักษะ Lifelong Learning ในตัวเด็กได้
June 9, 2025

“Lifelong Learning” หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต คืออะไร ทำไมถึงเป็นทักษะที่จำเป็น

หลายคนอาจนึกว่าการเรียนรู้นั้นจะสิ้นสุดลง เมื่อเราสำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ความจริงคือไม่ว่าเราจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม การเรียนรู้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งจากการทำงาน งานอดิเรก หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ การเปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้เรามีมุมมองและองค์ความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กปฐมวัยถึงควรปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือ Lifelong Learning ตั้งแต่เด็ก ๆ มาเจาะลึกไปพร้อมกันในบทความนี้

Content Highlight

  • Lifelong Learning คือ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ไปชั่วชีวิต ซึ่งไม่ได้หมายถึงการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน แต่เป็นเสริมความรู้เพิ่มเติมให้มีมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถพัฒนาทักษะชีวิตและเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น
  • ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง ปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ดี เพราะมีชุดความรู้เยอะ สามารถหยิบเอามาใช้แก้ไขปัญหาที่ต้องเจอได้
  • กิจกรรมที่สามารถฝึกฝนทักษะ Lifelong Learning เช่น การอ่านหนังสือ การฟัง Podcast การเรียนภาษาที่สาม และการเล่นกีฬาหรือเล่นดนตรี
Lifelong Learning คือ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน

Lifelong Learning คืออะไร

Lifelong Learning คือ ทักษะของคน ๆ หนึ่งที่อยากใฝ่หาและเติมความรู้ให้ตัวเองไปตลอดชีวิต หรือการมีแนวคิดที่ว่า ชีวิตนี้จะมีสิ่งใหม่ ๆ ให้เราเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนหรือระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ก็มีแนวคิดที่ว่าผู้ที่เป็น Lifeling Learners นั้นรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนรู้มายังไม่เพียงพอ จึงพยายามแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านการลองทำกิจกรรมต่าง ๆ เล่นกีฬา เรียนภาษาเพิ่ม หรือมีงานอดิเรกใหม่ ๆ เป็นต้น

Lifelong Learning มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง

เมื่อรู้สึกว่ามีอะไรให้เรียนรู้อยู่เสมอ เราก็จะมีแรงกระตุ้นและแรงจูงใจในการเรียนรู้อยู่เรื่อย ๆ ส่งผลให้มุมมองและทัศนคติที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตก็ดียิ่งขึ้นไปด้วย เพราะมีองค์ความรู้ติดตัวที่กว้างขึ้น ดังนั้น การปลูกฝังทักษะ Lifelong Learning ตั้งแต่เด็กปฐมวัยจะช่วยให้พวกเขารู้จักตั้งแต่อายุยังน้อย เพิ่มโอกาสในการต่อยอดและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้

เสริมสร้างความมั่นใจในตัวเด็ก

เมื่อเด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มีความรู้เพิ่มขึ้น ได้ทดลองเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยศึกษามาก่อน แถมยังสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดี จะทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น

ค้นพบความชอบของตัวเอง

Lifelong Learning ช่วยให้เด็กได้ทดลองทำกิจกรรมหรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย เขาจะได้รู้ว่าตัวเองสนใจอะไร และไม่ชอบอะไร ช่วยให้กำหนดเส้นทางการเรียนรู้ในอนาคตได้ง่ายขึ้น เพราะรู้แล้วว่าตัวเองต้องการอะไร รวมถึงช่วยให้พวกเขาสนุกกับการเรียนรู้ในอนาคตมากยิ่งขึ้น

สกิล Lifelong Learning ช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี

ปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี

เมื่อมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ท้าทายหรือต้องแก้ปัญหา พวกเขาก็สามารถใช้ความรู้ที่เคยเรียนมาปรับใช้กับสถานการณ์เหล่านั้น ช่วยให้มีความยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ตื่นตระหนกง่าย ๆ ซึ่งทักษะดังกล่าวสามารถติดตัวเด็ก ๆ ไปจนถึงชีวิตวัยทำงานของเขาได้อีกด้วย

เปิดกว้างต่อสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

ทักษะพื้นฐานของ Lifelong Learning คือความอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ ทำให้พวกเขาจะเปิดกว้างต่อความรู้ สถานการณ์ และมุมมองรอบตัวมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้ช่วยฝึกทักษะการรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน เพราะวิธีการที่หลากหลายก็สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาเดียวกันได้ ถือเป็นการฝึกฝนภาวะความเป็นผู้นำไปในตัว

การเรียนภาษาที่สามช่วยพัฒนาทักษะ Lifelong Learning ในตัวเด็กได้

กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเป็น Lifelong Learning มีอะไรบ้าง

1. การอ่านหนังสือ

แหล่งที่มาของความรู้ในปัจจุบันนั้นมีมากมาย แต่หนังสือไม่เพียงแค่ช่วยให้เด็กจดจ่อกับเนื้อหาได้นานขึ้น แต่ยังช่วยฝึกนิสัยรักการอ่านได้ง่ายกว่าการอ่านบนจอแท็บเล็ตด้วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะตั้งเป้าหมายให้กับลูก ว่าใน 1 ปีหรือ 1 เดือน เขาควรจะอ่านหนังสือได้อย่างน้อยกี่เล่ม วิธีนี้เด็ก ๆ จะได้ฝึกทักษะการบริหารเวลา ทำอย่างไรให้สามารถโฟกัสกับการอ่านหนังสือในระยะเวลาที่อาจจำกัดในแต่ละวัน เป็นต้น

2. การฟัง Podcast

ในช่วงชีวิตที่เร่งรีบของคุณพ่อคุณแม่ อาจลองฝึกลูกให้ฟัง Podcast ในช่วงเวลาว่างหรือระหว่างเดินทางไปโรงเรียน จะช่วยเสริมทักษะ Lifelong Learning ผ่านการฟังความรู้ใหม่ ๆ ในทุกวัน และช่วยให้เด็ก ๆ สามารถจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้แม่นยำขึ้นด้วย

3. การเรียนภาษาที่สาม

ภาษาที่สามเป็นทักษะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่อยากให้ลูกได้เรียนรู้ติดตัวไว้ เพราะช่วยเพิ่มโอกาสการทำงานในอนาคตได้ ภาษายอดนิยม ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน เป็นต้น

4. การเล่นกีฬาหรือการเล่นดนตรี

แน่นอนว่าการฝึกฝนให้เด็กมี Lifelong Learning ไม่ได้มีแค่การเรียนรู้เชิงวิชาการเท่านั้น ทั้งกีฬา การเล่นดนตรี ไปจนถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ก็ถือเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน เพราะเด็ก ๆ จะต้องฝึกฝนสกิลอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การเรียนรู้เหล่านี้ประสบความสำเร็จ เช่น ฝึกฝนการเล่นบาสเกตบอลจนสามารถแข่งขันในระดับประเทศได้ เป็นต้น

สรุป

กิจกรรมที่ช่วยปลูกฝังทักษะ Lifelong Learning ในตัวเด็กที่เรายกตัวอย่างไปทั้งหมดนั้น เป็นเพียงแค่กิจกรรมเบื้องต้นเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถพาคุณลูกไปทดลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามความสนใจของพวกเขา เพราะจะช่วยให้เขาสนใจและตั้งใจเรียนรู้มากกว่าต้องทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ ซึ่งที่โรงเรียนนานาชาติ St. Andrews Dusit เราได้ปลูกฝังทักษะ Lifelong Learning ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายและฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ไปพร้อมกัน